Skip to content
พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetlands For Thai) กรมทรัพยากรน้ำ

พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetlands For Thai) กรมทรัพยากรน้ำ

กรมทรัพยากรน้ำ

  • หน้าหลัก
  • พื้นที่ชุ่มน้ำ
    • เกี่ยวกับพื้นที่ชุ่มน้ำ
      • นิยามความหมาย
      • ประเภท
    • ความสำคัญพื้นที่ชุ่มน้ำ
    • พื้นที่ชุ่มน้ำของไทย
      • พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศ
        • พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (แรมซาร์ไซต์)
        • พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับนานาชาติ
        • พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับชาติ
      • พื้นที่ชุ่มน้ำแบ่งตามสถานภาพการอนุรักษ์
        • พื้นที่ชุ่มน้ำในเขตพื้นที่อนุรักษ์
        • พื้นที่ชุ่มน้ำนอกเขตอนุรักษ์
        • พื้นที่เครือข่ายนกอพยพ
  • อนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ
    • ภูมิหลังอนุสัญญา
    • การเข้าร่วมเป็นภาคี
    • ประเทศภาคี
    • เนื้อหา
    • หลักเกณฑ์
    • ผลดี
    • กลไกการบริหารอนุสัญญาฯ
    • การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ​
    • ประเด็นที่อนุสัญญาฯ ให้ความสำคัญ​
    • การดำเนินงานตามอนุสัญญา
      • คณะอนุกรรมการการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ
      • คณะทำงานวิชาการพื้นที่ชุ่มน้ำ
      • ความริเริ่มภายใต้สัญญา
      • วันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก
  • ข่าวประชาสัมพันธ์
    • ข่าวเด่น
    • ข่าวกิจกรรม
    • ภาพกิจกรรม
  • Download
    • กฎหมายน่ารู้
      • กฎหมาย
      • มติคณะรัฐมนตรี
      • นโยบาย
    • แผ่นพับ
    • หนังสือ/เอกสารแนะนำ
    • โปสเตอร์
  • เกี่ยวกับเรา​
    • เกี่ยวกับโครงการ
    • กองอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
    • ติดต่อเรา
  • Toggle search form

การเข้าร่วมเป็นภาคี

การเข้าร่วมเป็นภาคี (Ramsar Convention)

ประเทศใดๆ ที่เป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติหรือเป็นหนึ่งในหน่วยงานพิเศษ หรือองค์กรพลังงานปรมาณูนานาชาติ The International Atomic Energy Agency (IAEA) หรือ ภาคีของ The Statutes of the International Court of Justice (SICJ) สามารถเข้าเป็นภาคีของอนุสัญญาฯ ได้ 3 วิธีดังนี้

  •          1) ลงนามโดยไม่มีข้อสงวนใดๆ พร้อมกับการให้สัตยาบัน
  •          2) ลงนามเพื่อรับรองอนุสัญญาฯ ก่อนแล้วจึงให้สัตยาบัน
  •          3) ภาคยานุวัต (การเข้าเป็นภาคีใหม่)

โดยผู้แทนเป็นทางการของประเทศนั้นๆ มอบสัตยาบันสารต่อผู้อำนวยการองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ทั้งนี้ประเทศที่จะเข้าร่วมเป็นภาคีจะต้องเสนอชื่อพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในทางนิเวศวิทยา พฤกษศาสตร์ สัตวศาสตร์ ชีววิทยา และอุทกวิทยา พร้อมทั้งข้อมูลพื้นฐานและแผนที่แสดงที่ตั้งและขอบเขตที่ชัดเจน โดยเสนอตามรูปแบบ “Ramsar Information Sheet” มาพร้อมการขอเข้าร่วมเป็นภาคี หรือเสนอหลังจากนั้น โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่ง datasheets เหล่านี้จะได้รับการจัดพิมพ์เป็น “ทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ” (Directory of Wetlands of International Importance) โดยสามารถเพิ่มเติมพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในดินแดนของตนในภายหลังผ่านระบบรายงานที่สำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ ผลักดันขึ้น Ramsar Sites Information Service ได้อีกด้วย ในขณะนี้มีพื้นที่ชุ่มน้ำในทะเบียน (Ramsar sites) ทั้งสิ้น 1,313 แห่ง รวมเป็นพื้นที่ประมาณ 110.97 ล้านเฮกตาร์

เนื้อหาของอนุสัญญาฯ

อนุสัญญาแรมซาร์ประกอบด้วย 12 มาตรา ได้รับการรับรองในการระชุมครั้งแรกในประเทศอิหร่านเมื่อปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ.1971) เนื้อหาของอนุสัญญาฯ ถูกนำมาแก้ไขโดย Paris Protocol เมื่อปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) ซึ่งได้มีการแก้ไขทางวิชาการหลายข้อและอนุสัญญาฯ ได้นำเอามาใช้บังคับในปี พ.ศ. 2529 (ค.ศ. 1986)

การแก้ไขข้อความในอนุสัญญาฯ ครั้งที่ 2 มีขึ้นในการประชุมที่ประเทศแคนาดา เมื่อปี พ.ศ. 2530 (ค.ศ. 1987) เรียกว่า Regina Amendment ข้อแก้ไขนี้ไม่ได้มีผลต่อหลักการพื้นฐานของอนุสัญญาฯ แต่เกี่ยวกับการดำเนินงานในส่วนของอำนาจของการประชุมการจัดตั้งคณะกรรมการ กำหนดวงเงินทุน ซึ่งในขณะที่ข้อแก้ไขเหล่านี้ยังมิได้นำมาบังคับใช้ แต่ภาคีส่วนใหญ่ก็ได้นำมาใช้โดยสมัครใจ

ดังนั้น การเข้าเป็นภาคีใหม่โดยยอมรับข้อแก้ไขตาม Regin Amendment นี้ไปพร้อมๆ กันทีเดียวจึงเหมาะสม เพราะสามารถขจัดความยุ่งยากในการที่รัฐจะต้องดำเนินงานตามขั้นตอนเพื่อรับรอง
ข้อแก้ไขนี้อีกครั้งในภายหลัง

พันธกรณี

ข้อตกลงหลักๆ ของรัฐที่เข้าร่วมในภาคีอนุสัญญาแรมซาร์ คือ

  • – ภาคีจะต้องคัดเลือกพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญของประเทศอย่างน้อย 1 แห่ง ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด บรรจุในทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) ของอนุสัญญา (มาตรา 2 วรรค 1)
  • – ภาคีต้องกำหนดและวางแผนการดำเนินการเพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาด ไม่ว่าพื้นที่ชุ่มน้ำนั้นจะอยู่ในทะเบียนหรือไม่ก็ตาม (มาตรา 3 วรรค 1)
  • – ทำการปรึกษากับภาคีอื่นๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานอนุสัญญาฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ชุ่มน้ำที่ตั้งอยู่ตามพรมแดนระหว่างประเทศ มีการใช้ทรัพยากรน้ำร่วมกัน มีการใช้ทรัพยากรชีวภาพร่วมกัน และมีการพัฒนาความช่วยเหลือสำหรับโครงการพื้นที่ชุ่มน้ำ (มาตรา 4 และ 5)
  • – ภาคีต้องสนับสนุนเงินช่วยเหลือแก่อนุสัญญาฯ จำนวนเงินช่วยเหลือของแต่ละประเทศขึ้นกับการแบ่งตาม UN Scale และข้อมูลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ (มาตรา 6 วรรค 6)
ประเด็นสำคัญที่ควรรู้
  • – อนุสัญญาแรมซาร์ไม่ละเมิดอำนาจอธิปไตยของภาคี ซึ่งเป็นเจ้าของดินแดนที่มีพื้นที่ชุ่มน้ำ
  • – อนุสัญญาแรมซาร์มุ่งที่จะส่งเสริมให้ประเทศต่าง ๆ มีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมชุมชน
  • – พื้นที่ชุ่มน้ำใดที่ได้รับการเสนอเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศแล้ว ต่อมามีความจำเป็น ภาคีสามารถเพิกถอนออกจากทะเบียนหรือกำหนดขอบเขตใหม่ได้ แต่ทั้งนี้ต้องเสนอพื้นที่อื่นทดแทนด้วย
การเป็นภาคีอนุสัญญาแรมซาร์
  • – ทำให้มีการอนุรักษ์ และยับยั้งการสูญเสียของพื้นที่ชุ่มน้ำในและภูมิภาคของโลก
  • – ลดปัญหาความขัดแย้งในการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำระหว่างประเทศตลอดจนสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในพื้นที่รวมทั้งฝูงนกน้ำที่อพยพตามฤดูกาลไปอยู่ในประเทศต่างๆ ทั้งนี้ เนื่องจากอนุสัญญาฯ ระบุว่าภาคีจะต้องร่วมมือในการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำและสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน
  • – ทำให้มีการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำและสิ่งมีชีวิตในพื้นที่ที่ใช้อย่างฉลาด เนื่องจากอนุสัญญาฯ ระบุหน้าที่ที่ภาคีจะต้องกระทำ คือ ให้คำนึงถึงการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำ การกำหนดแผนการใช้ที่ดินและแผนการจัดการระดับชาติ ซึ่งการดำเนินการตามแผนนี้ จะเป็นการส่งเสริมการใช้ประโยชน์อย่างชาญฉลาด (wise use) และทำให้มีพื้นที่ชุ่มน้ำต้องสงวนรักษาไว้
  • – ทำให้มีการป้องกันการเสื่อมสภาพของพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยเฉพาะที่ขึ้นทะเบียนไว้โดยมีการติดตามตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
การประชุมสมัชชาภาคี

อนุสัญญาฯ ระบุไว้ว่าจะต้องจัดให้มีการประชุมปกติ (ordinary session) สำนักเลขาธิการอนุสัญญาฯ ได้กำหนดให้มีการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ ในทุกๆ 3 ปี โดยมีการประชุมสมัชชาภาคีวาระพิเศษ 1 ครั้ง ณ ประเทศฝรั่งเศส เพื่อตกลงกรอบงานและงบประมาณในการดำเนินการตามอนุสัญญา

ครั้งที่วัน เวลา สถานที่สาระสำคัญ
1เมือง Cagliari ประเทศอิตาลี พ.ศ. 2523 (ค.ศ. 1980)การประชุมวาระพิเศษที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) ในครั้งนี้ได้มีการร่างพิธีสารขึ้นมาแก้ไขความบางตอนในอนุสัญญาฯ เรียกว่า “พิธีสารปารีส” (Paris Protocol) ซึ่งที่ประชุมรับพิธีสาร ในการประชุมปกติครั้งที่ 2 และผลบังคับใช้เรื่อยมา
2เมือง Groningen ประเทศเนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2527 (ค.ศ. 1984)มีการรับรองบทแก้ไขอนุสัญญาฯ (amendment) เสนอในคราวประชุมวาระพิเศษ
3เมือง Regina, Saskatchewan ประเทศแคนาดา พ.ศ. 2530 (ค.ศ.1987)ในครั้งนี้ได้มีการแก้ไขความบางตอนในอนุสัญญาฯ อีกครั้ง เรียกว่า “Regina Amendment” คือในมาตรา 6 และ 7 แต่ยังไม่มีผลบังคับใช้
4เมือง Montreux ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ พ.ศ. 2533 (ค.ศ.1990)ในการประชุมสมัชชาภาคี สมัยที่ 3 และ 4 ได้มีการจำแนกระบุการแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ทั่วโลก และแบ่งออกเป็น 7 ภูมิภาค ดังนี้: แอฟริกา, เอเชีย, ยุโรปตะวันออก, นีโอโทรปิกส์, อเมริกาเหนือ, โอเชียเนีย และ ยุโรปตะวันตก ซึ่งคณะกรรมการบริหาร (Standing Committee) จะทำการทบทวนการแบ่งเขตภูมิศาสตร์ดังกล่าว เพื่อจัดทำข้อเสนอสำหรับการเปลี่ยนแปลงการกำหนดเขตภูมิศาสตร์ในการประชุมสมัชชาภาคีสมัยที่ 5 ต่อไปโดยจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษในประเด็นการแบ่งทวีปยุโรปออกเป็นยุโรปตะวันออกและ ยุโรปตะวันตก เนื่องจากสมัชชาภาคีได้เห็นชอบโดยเสียงข้างมากแล้วว่า การแบ่งแยกทวีปยุโรปดังกล่าว เป็นไปตามบริบททางการเมือง ไม่ใช่เป็นไปตามหลักภูมิศาสตร์
5เมือง Kushiro ประเทศญี่ปุ่น พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993)มีการรับรองบทแก้ไขอนุสัญญาฯ ตามที่แก้ไขในคราวประชุมครั้งที่ 3 ทำให้มีผลบังคับใช้ โดยได้รับการสนับสนุนด้านการเงินจากประเทศสมาชิกที่สมัครใจ (voluntary contribution) หรือองค์กรที่สนใจ
6เมือง Brisbane ประเทศออสเตรเลีย พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996)ที่ประชุมมีมติยอมรับถึงความสำคัญของพันธุ์ปลาและการทำการประมงว่าสามารถใช้เป็นเงื่อนไขหนึ่งในการกำหนดพื้นที่ชุ่มน้ำนั้นเป็น Ramsar Site รับรองแผนกลยุทธ ปี พ.ศ. 2540 – 2545 (Strategic Plan 1997 – 2002) และรับรองความร่วมมือกันระหว่างอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพกับอนุสัญญาแรมซาร์
7เมือง San Jose ประเทศคอสตาริก้า วันที่ 10 – 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999)รับรอง outreach Programme ซึ่งเป็นแผนงานที่จัดทำขึ้นเพื่อเร่งรัดการเสริมสร้างความตระหนัก ในคุณค่าและบทบาทพื้นที่ชุ่มน้ำในทุกระดับสังคม
8เมืองวาเลนเซียประเทศสเปน วันที่ 18 – 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 (ค.ศ. 2002)รับรองแผนกลยุทธ์ ปี พ.ศ. 2546-2550 แนวทางการนำคุณค่าทางวัฒนธรรมของพื้นที่ชุ่มน้ำมาใช้เป็นเครื่องมือในการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืน การพิจารณาความสัมพันธ์ของการเกษตรกับพื้นที่ชุ่มน้ำ และการผนวกแนวทางการดำเนินงานต่างๆ ให้เป็นไปตามผลการประชุมสุดยอดของโลกว่าด้วยการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่เมือง โจฮันเนสเบอร์ก ประเทศแอฟริกาใต้
9เมืองคัมพาลา ประเทศยูกันดา วันที่ 8-15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 (ค.ศ.2005)มีมติรับรองการเพิ่มเติมข้อกำหนด ข้อ 9 ที่ให้เพิ่มสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่มิใช่นก และข้อกำหนดด้านวัฒนธรรมในหลักเกณฑ์การเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำ เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่ความสำคัญระหว่างประเทศ หรือแรมซาร์ไซต์ การเสริมประสานการทำงานกับความตกลงด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องพื้นที่ชุ่มน้ำกับการแก้ไขปัญหาความยากจนและบทบาทของพื้นที่ชุ่มน้ำในการลดและป้องกันความเสียหายจากมหันตภัยธรรมชาติ 
10เมืองชางวอน ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี วันที่ 28 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 (ค.ศ. 2008)รับรองแผนกลยุทธ์ ปี พ.ศ. 2551 – 2557 (ค.ศ. 2008 – 2014) และให้การรับรองข้อมติ 33 เรื่อง เช่น พื้นที่ชุ่มน้ำกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานชีวภาพ อุตสาหกรรมการขุดเจาะน้ำมัน/ก๊าซธรรมชาติ การขจัดความยากจน เป็นต้น รวมถึงการประกาศปฏิญญาชางวอน
11เมืองบูคาเรสต์ ประเทศโรมาเนีย วันที่ 6-13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 (ค.ศ. 2012)ปรับปรุงแผนกลยุทธ์ 2009-2015 สำหรับช่วงปี 2013-2015 สมัชชาภาคี อนุสัญญาฯ ตระหนักถึงการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ ที่ช่วยสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายไอจิว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และรับรองแผนกลยุทธ์ 2009-2015 สำหรับช่วงปี 2013-2015
12เมือง ปุนตา เดล เอสเต สาธารณรัฐบูรพาอุรุกวัย วันที่ 1-9 มิถุนายน พ.ศ. 2558 (ค.ศ.2015)การรับรองแผนกลยุทธ์ พ.ศ. 2559 – 2567 (ค.ศ. 2016 – 2024) สมัชชาภาคี อนุสัญญาฯ และพิจารณาและให้การรับรองเครื่องมือในการประเมินประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่ Ramsar site (Ramsar site Management Effectiveness Tracking Tool หรือ R-METT)
13เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ วันที่ 21-29 ตุลาคม 2561 (ค.ศ. 2018)รับรองข้อมมูลเกี่ยวกับการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พื้นที่ชุ่มน้ำ ชายฝั่งทะเล พื้นที่พรุ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิเทศ การส่งเสริม การอนุรักษ์ ฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำในเมือง และการประเมิน บริการจากระบบนิเวศพื้นที่ชุ่มน้ำเปิดนี้
 


กองอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
กรมทรัพยากรน้ำ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ติดต่อเรา
0 2271 6000 ต่อ 6157
0-2298-6610
-
180/3 ถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพ 10400

    แผนที่

    จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

    002086
    Users Today : 2
    Total Users : 2086
    Who's Online : 1

    Copyright © 2023 พื้นที่ชุ่มน้ำ (Wetlands For Thai)